000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > ระบบเสียง PA > เครื่องเสียง PA > เอฟเฟกต์...ผงชูรส หรือยาพิษ
วันที่ : 13/01/2016
6,137 views

เอฟเฟกต์...ผงชูรส หรือยาพิษ

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

?????? ในวงการบันทึกเสียงทำมาสเตอร์ สิ่งหนึ่งที่ช่างเสียงชอบใช้กันแบบว่า ขาดไม่ได้โดยเฉพาะอัลบัมเพลงสมัยใหม่ในยุค 20 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ การตกแต่ง เขียนคิ้ว ทาปาก ให้เสียงและมิติเสียงที่วงการเรียกว่า ใส่เอฟเฟกต์ (effect)

?????? Effect ในปัจจุบันมีความหลากหลาย ในอดีตเมื่อ 40 ปีมาแล้ว เอฟเฟกต์ที่เป็นยอดฮิตคือ Equalizer หรือ EQ (ตัวยกหรือลดแต่ละช่วงความถี่เสียง) ช่วยในการแต่งเสียงที่แม่นยำ, ละเอียดกว่าปุ่มยกทุ้ม, แหลมธรรมดา EQ อาจซอยย่อยสูงสุดถึง 32 ช่วงความถี่

?????? Effect อีกเครื่องคือ ตัวควบคุมการสวิงเสียง (compressor) ไม่ให้ค่อยเกินไปจนเสียงซ่าจากเนื้อเทป หรือจานเสียงจะกลบได้ (สมัยนั้น แหล่งรายการหลักคือ ม้วนเทปเปิด, ม้วนเทปคาสเซตต์, จานเสียง) ขณะเดียวกันก็ไม่ให้ดังเกินไปจนทำให้สายเทปอิ่มตัวหรือจานเสียงรับไม่ไหว (หัวเข็มกระโดดออกจากร่อง)

??????? โดยตัว compressor ยังทำงานด้วยการตรวจจับสัญญาณหลายลักษณะ จากแต่เดิมจับแต่ ?ระดับสัญญาณ? ตั้งแต่ความถี่ต่ำสุดถึงความถี่สูงสุด ใช้วงจรเดียวครอบคลุมหมด (wide band) ต่อมามีคนบ่นว่า มันไม่เนียน บ่อยๆที่เหมือนเสียงๆ ค่อยๆ พร้อมกับเสียงซ่ากวนก็วูบๆ วาบๆ เรียกว่าเกิดการ ?หายใจ? (breathing) จึงพัฒนาแยกการทำงานเป็นสองช่วงความถี่ ความถี่ต่ำดูแลโดย compressor 1 วงจร ความถี่สูงดูแลโดย compressor อีก 1 วงจร มีเหมือนกันที่อาจซอยย่อยถึง 3 ช่วง 3 วงจร เพื่อลดผล ?หายใจ? ซึ่งก็ดูเหมือนแนบเนียนขึ้น ขณะเดียวกัน ก็อาจตรวจสอบสัญญาณทั้งระดับและพลังงานโดยรวม เพื่อให้เสียงยังคงสดใส ไม่ทื่อ (โดยเฉพาะหัวโน้ต, หัวเสียง, ปลายแหลม) effect เอฟเฟกต์นี่มีใช้กันตลอดมาถึงยุคดิจิตอลปัจจุบันที่ทำได้เนียนยิ่งขึ้นไปอีก แย่หน่อยที่ปัจจุบัน มักใช้ compressor กดการสวิงเสียงกันจนเกินงาม ฟังอั้น ตื้อ ไปหมด โดยเฉพาะกับการดาวน์โหลดเพลง, การบันทึกลงสื่อแบบย่นย่อสัญญาณ (compressed)

?????? Effect ต่อไปที่ฮิตมากจากอดีตแรกสุดถึงปัจจุบันและอนาคต คือความก้องกังวานของเสียง (reverberation) โดยช่างเสียงรู้กันดีว่า เนื่องด้วยการบันทึกเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะที่ไม่ใช่เล่นด้วยวงออร์- เคสตราขนาดใหญ่ จะบันทึกกันในห้องเก็บเสียงเพื่อลดการสะท้อนของห้องให้น้อยที่สุด รวมทั้งการแยกเสียงจากแต่ละเครื่องดนตรีด้วยคอกหรือฉากกั้นเสียง หรืออย่างน้อย จัดวางแต่ละชิ้นเครอื่งดนตรี ให้กระจายตัวห่างกันมากที่สุด เพื่อลดการรั่วกวนของเสียงแต่ละเครื่องดนตรีไม่ให้รั่วเข้าไมโครโฟนของอีกเครื่องดนตรี เพราะจะทำให้การจูนแต่งเสียง, เน้น, ดึงเสียงแต่ละเครื่องดนตรีทำได้ยาก การจัดผังของวง หรือ mapping จะทำที่ตัวผสมเสียง (mixer) ด้วยการ ?วาง? ตำแหน่งชิ้นดนตรี (pan) ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ทีหลัง

?????? แน่นอนว่า เก็บเสียงมากๆอย่างนี้ เสียงก็จะออกแห้ง ขาดลมหายใจของตัวน้ต (จาด ambiance) ทรวดทรงชิ้นดนตรีก็จะผอมเล็กมากไป (เสียสัดส่วนหรือ scale) จึงต้อง ?เติม? เสียงก้องกังวาน (echo} reverberation) ให้แก่แต่ละเสียงดนตรีจากแต่ละชิ้นดนตรี รูปแบบ, ปริมาณการเติมจะช่วยสร้างลมหายใจตัวน้ต, การมีอยู่ในห้อง (space) ของดนตรีชิ้นนั้นๆ และบอกขนาดของห้องแสดงที่ต้องการให้รู้สึกอย่างนั้น ช่วยเติมบรรยากาศการแสดงสด

?????? Effect ตัวนี้จำเป็น ช่วยให้เครื่องดนตรีคุณภาพไม่ดีนักให้พอฟังได้ ไม่ขี้ฟ้องคุณภาพเกินไป ช่วยลากเสียงให้นักร้อง (บางคนถ้าไม่มีเสียงก้องกังวานช่วย) แทบจะร้องไม่เป็น ไปไม่ถูก หรือล่มปากอ่าวเลย

? ?????ในอดีต เครื่องสร้างเสียงก้องกังวานมีหลายชนิด เช่น ใช้เส้นขดลวดสปริง (เสียงก้องจะอู้ๆ กระป๋องๆ เหมือนร้องเพลงในห้องส้วม) ส่วนใหญ่ใช้กับแอมป์กีต้าร์ ใช้สายเทปม้วนเปิดที่เชื่อมหัวท้ายสายครบเป็นวง(loop) แล้ววางหัวบันทึก 1 หัว หัวเล่น 2-3 หัวที่ปรับระยะห่างระหว่างหัวบันทึก, หัวเล่นได้ เพื่อสร้างเสียงซ้ำๆ (แบบเสียงก้องกังวาน) วิธีนี้ ใช้กันแพร่หลายที่สุดในสมัย 40-60 ปีที่แล้ว เพราะปรับเสียงก้องกับกังวานได้อย่างหลากหลายดีมาก แต่มีข้อเสียที่ต้องคอยเปลี่ยนสายเทปที่สึก หรือขาด แต่ก็ให้สุ้มเสียงที่ค่อนข้างเป็นธรรมชาติดีมาก แม้แต่เสียงกังวานก็ยังมีมิต, ทรวดทรง, รายละเอียดยี่ห้อดังก็ Dynacord ไปไหนก็เจอ ต่อมายี่ห้อนี้ได้พัฒนาจากสายเทปเป็นจานหมุน (drum) ที่ทนหายห่วง ตัดปัญหาไม่ต้องใช้สายเทปอีกต่อไป แต่ราคาจะแพงขึ้นพอควร ต่อมาห้องบันทึกเกือบทั้งหมดจะหันมาใช้ระบบ drum นี้หมด

?????? ในต่างประเทศ มีการใช้แผ่นโลหะ (plate) เป็นตัวทำเสียงก้องโดยแผ่นโลหะสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางแนวตั้ง มุมหนึ่งมีตัวรับสัญญาณเสียงที่เราป้อน แล้วส่งแรงสั่นสะเทือนไปในแผ่น plate เหมือนเสียงที่วิ่งไปในอากาศภายในห้องแสดงดนตรี ที่มุมหนึ่งของ plate จะมีตัวรับแสงสั่นสะเทือน ?ทั้งหลาย? ของแผ่น plate ได้เป็นเสียงก้องกังวานของสัญญาณเสียงที่ป้อนนั้น วิธีนี้ค่อนข้างใหญ่โตเกะกะ มีองค์ประกอบอื่นที่ต้องระวังมาก เชื่อว่าคุณภาพเสียงน่าจะสู้แบบหัว drum ไม่ได้ จึงมีคนใช้น้อยมาก

??????? ห้องบันทึกเสียงของ Denon ที่ประเทศญี่ปุ่นสู้ลงทุนทำห้องจริงๆขึ้นมา แส้งใส่ลำโพงกับไมโครโฟนเข้าไป เพื่อใช้ความก้องของห้องเป็นตัวสร้างเสียงก้องในการบันทึก อย่างนี้เป็นอะคูสติกจริงๆ

?????? ต่อมาเข้าสู่ยุคอะไรๆ ก็อิลเคทรอนิกส์ การทำเสียงก้องด้วยวิธีการทางกลไก หรืออะคูสติกทั้งหลายจึงถูกแทนที่ด้วย ตัวเก็บประจุจำนวนมากมายมหาศาล สัญญาณที่ป้อนจะจ่ายไฟไปเก็บไว้ตายตัวเก็บประจุไล่เป็นทอดๆไป เสียงจะถูกดึงออกมาจากตัวเก็บประจุเป็นแต่ละทอดผสมกัน ซึ่งสัญญาณเหล่านี้ จะออกมาช้ากว่า เสียงที่ป้อนเข้าไปตอนต้นสุด เกิดการมาช้า หรือหน่วงความเร็วช้าในการเลือกจังหวะ การประจุ-คายประจุ เป็นตัวกำหนดการหน่วงเสียง ระบบนี้เรียกว่า busket bridgate (ถ้าสะกดผิดผิดก็ต้องขออภัยด้วยครับ มันนานมากๆแล้ว) จะดีกว่าระบบสายเทป หรือ drum ที่ปลอดจากเสียงซ่ากวน แต่จำกัดในเรื่องเวลาหน่วงเสียง เพราะค่าตัว IC ที่ภายในตัวเก็บประจุและทรานซิสเตอร์ขับเคลื่อนนั้นยังแพงมาก อีกทั้งเอาเข้าจริงๆ ก็ยังมีปัญหารับการสวิงสียงของสัญญาณที่ยังเป็นแอนะลอกอยู่ (ยังไม่เป็นดิจิตอล) ระบบนี้จึงแทบไม่ได้รับความนิยม

?????? ต่อมาเข้าสู้ระบบดิจิตอล หลักการของ busket bridgate เมื่อใช้กับสัญญาณดิจิตอลกลับมาเป็นเรื่องง่าย แถม IC หน่วยความจำพวกนี้มีราคาถูกลงๆ อย่างมากๆ (30 กว่าปีมานี้ถูกลง 10 เท่า) ทำให้วงการบันทึกเสียงหันมาใช้ตัวทำเสียงก้องกังวานแบบ digital กันหมด ระบบอื่นๆ ก็สูญพันธุ์ไปหมด

?????? สามอย่างนี้เป็น effect หลักที่ใช้กันมากที่สุด แพร่หลายที่สุด แทบจะกล่าวได้ว่า ไม่มีอัลบัมเพลงไหนไม่ใช้ทั้ง 3 อย่างนี้

?????? อาศัยการพัฒนาและความก้าวหน้าด้านคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลได้เร็วขึ้นมาก และหน่วยความจำที่เพิ่มขึ้นมหาศาล ราคาสิ่งเหล่านี้ที่ถูกลงมากตามธุรกิจ IT ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมการตกแต่งเสียงได้หลากหลาย ซับซ้อนมากขึ้น ผลคือ เรามีทั้งเครื่องและโปรแกรมการดัดแปลงเสียงเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่

?????? Harmonizer เป็นเครื่อง หรือวงจร (อยู่ใน mixer หรือเติมกับเครื่อง PC) ที่ช่วยเพิ่มมวล, เนื้อ ทรวดทรงเสียง โดยการสังเคราะห์ความถี่คู่ควบ เช่น ที่ 2, 4, 6, 6,.... จากสัญญาณเดิมแล้วย้อนเติมกลับเข้าไป

?????? Pitch ช่วยเพิ่มความเร็ว หรือลดความเร็วของสัญญาณเดิมเพื่อให้ตังหวะคล้องจองกับส่วนอื่นๆ

?????? เพิ่มลดปลายแหลมสะบัด เป็นวงจรหรือตัวเครื่องเช่นกัน ช่วยยกปลายแหลมให้กระฉูดโด่งขึ้น ?ส?, ?S? ถูกเน้นขึ้นมาหรือตรงข้าม ช่วยลดลง

?????? Attack เป็นวงจรช่วยเพิ่มความชันของหัวโน้ต ทำให้เสียงออกมาขึงขังขึ้น การกระทบ, ปะทะ ดูเดือดขึ้น (คงใช้วงจร unlimited)

?????? วงจรสร้างเสียสเตอริโอเทียมจากสัญญาณโมโน เพื่อการฟังเสียงโอ่อ่า กว้างขวางขึ้น ไม่เป็นกระจุกแคบๆ ตรงกลางในยุคแรกๆ สุดจะทำง่ายๆ โดยการตัดช่วงความถี่กลางลงต่ำไปออกลำโพงอีกซีกหนึ่ง ความถี่กลางขึ้นสูงไปออกลำโพงอีกข้าง ก็เป็น 2-ch ซ้าย, ขวาได้ แต่เสียงก็จะออกมาทะแม่งๆ ตลกดี นั่นเป็นยุคแรกสุดของระบบเสียงสเตอริโอที่เป็นแผ่นเสียงส่วนใหญ่ มาสเตอร์ส่วนใหญ่ยังบันทึกแต่โมโน

?????? แต่วงจรประเภททำสเตอริโอเทียมในยุคดิจิตอล ทำได้เนียนขึ้น แต่ก็ยังห่างไกลจากการบันทึกสเตอริโอจริงๆบ่อยๆ ที่ฟังแล้วฟุ้ง เบลอไปหมด หลอกหู

?????? นอกจากนั้น ยังมีวงจรช่วย ?ถ่าง? เวทีเสียง หรือเน้นการแยกเสียงสเตอริโอ (จริง) ให้กว้างยิ่งขึ้น จนบางอัลบัม กว้างโอบมาถึงด้านหลังของเราคล้ายๆ กับเป็นเซอร์ราวด์เลย (วงจรพวกนี้ เช่น spatializer)

?????? อย่างไรก็ตาม วงจรพวกนี้ ค่อนข้างได้ผลดี แต่ฟังนานๆ ขาดมวล เป็นโพรงใน (hallow) ไม่มีเนื้อใน (solid) และทรวดทรงนักร้อง, ชิ้นดนตรีมันแบน ฟุ้ง ขอบเขตไม่ชัด

?????? วงจร APEX (หรือ BSS) เป็นวงจรช่วยให้เสียงกลางเปิดเผยคมชัด เน้น, โดดออกมามากขึ้น โดยกรองความถี่ช่วงกลางออกมาจากสัญญาณเพลงปกติ แล้วนำมาสังเคราะห์สร้างความถี่คู่ควบด้านสูงขึ้นมา แล้วลดทอน จากนั้นป้อนกลับไปผสมสัญญาณเดิมปกติ ซึ่งการทำง่ายๆ แบบใช้ EQ ยกช่วงเสียงกลางขึ้นมา จะได้แต่ความดังแบบโดดๆ หุบๆ ไม่ได้รายละเอียดความคมชัดเนื้อใน

?????? วงจรวางตำแหน่งชิ้นดนตรี หรือ mapping โดยช่างเสียงสามารถกำหนด, วาง ให้ชิ้นดนตรีชิ้นไหนอยู่ตรงไหนในเวทีเสียงก็ได้

??????? มีอาวุธพร้อม...ต้องมีศิลปะในการใช้ด้วย

?????? ในการนำ effect แบบไหนมาใช้ตกแต่งเสียง ช่างเสียงนอกจากใช้เครื่องมือเป็นแล้ว ต้อง ?ฟัง? เป็นด้วยว่า อย่างไรให้ความเป็นธรรมชาติมากที่สุด ควรจะใส่มากน้อย หรือบางอย่างไม่จำเป็นต้องใช้หรือไม่ควรใช้เลยด้วยซ้ำ

?????? ว่าไปแล้ว ถ้าช่างเสียงรู้จริง จัดวางระบบการบันทึกอย่างพิถีพิถัน เก็บเกี่ยวทุกหยาดหยดของเสียงจริงให้ได้ก่อน มองทะลุปัญหาที่จะเกิดขึ้นแล้วป้องกันไว้ก่อนแต่ต้นมือ

?????? ในห้องบันทึกก็จะจัดระบบ, จัดสาย ฯลฯ ให้มีการรบกวนกันน้อยที่สุด ห้องช่างปรับเสียงใช้เครื่องมือที่คุณภาพดีพอ เป็นกลางมากพอ ไม่มีปัญหาเสียงก้องในห้องช่าง สายไฟ AC ของห้อง, ของทุกเครื่องฟังเช็กทิศทางขาปลั๊ก, ทิศทางหัวสาย/ท้ายสาย ปิดผนึกกันคลื่นกวน ขณะบันทึกห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ (เอาออกไป), iPad, WIFI, ไม่วางเครื่องทับซ้อนกัน ปิดห้องกันคลื่นขยะ RF ทั้งหลายที่จะมาป่วน ระบบไฟแรงถึง จัดไม่ให้สายต่างๆแตะต้องกัน ห้องบันทึกต้องไม่ให้มีสัญญาณ RF จากที่ใดๆ มารบกวน เอา PC, iPad วางห่างมิกเซอร์มากที่สุด หรือเอาไปไว้นอกห้องเลย ฟังทดสอบทิศฟิวส์ของทุกเครื่อง ตั้งห้องบันทึกหนีไกลห่างจากสถานีวิทยุ, สถานีโทรทัศน์, เสาเครือข่ายมือถือ (cell site) วางลำโพงมอนิเตอร์เอียงเข้ามา (toe in) จูนให้ได้มิติ, เสียงครบ พูดง่ายๆว่า ทำสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ให้ดีที่สุดไว้ก่อน จะพบว่า คุณภาพการบันทึกสดนั้น แทบไม่ต้องใช้อะไรมาช่วยเลย (นอกจาก 3 effect แรกสุด)

?????? อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นการ ?ซ่อม? มาสเตอร์เก่าที่มีปัญหามาก่อน และเจ้าของผลงาน (นายทุนผู้ทำอัลบัม) ต้องการผลบางอย่าง นั่นก็อีกเรื่อง อาจต้องอาศัยตัวช่วยเหล่านั้น

บทส่งท้าย

?????? ในการใช้ ?ตัวช่วย? หรือ effect เหล่านี้ ต้องใช้ให้น้อยที่สุด ไม่ใช้เลยดีที่สุด (บางครั้ง, บ่อยๆ ที่ผู้บริโภคกลับชอบอะไรที่ดั้งเดิม หรือดิบๆ มากกว่าการเสริมแต่ง) ต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ว่า effect นั้นๆ มีหลักการทำงานอย่างไน จะสามารถปรับแต่งตัวแปรย่อยของแต่ละ effect ได้อย่างไรให้ออกมาธรรมชาติที่สุด มิเช่นนั้น ผู้ฟังจะจับการเสริมแต่งออกว่า ?มันเหมือนกันไปหมด? หรือ ?อาการวูบวาบ? หรือ ?มันเหมือนอยู่ในกรอบอันหนึ่ง? แต่ละเสียงขาดความเป็นตัวของตัวเอง ของใครของมัน ลู่ไปทางเดียวกันหมด คลุมเครือ ไม่กระจ่าง, ทะลุ ,เห็นเนื้อใน

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459